เครื่องดนตรีในประเทศอาเซียน

National Instruments in ASEAN

เรียนรู้สู่อาเซียนตอนที่ 13 National Instrument in ASEAN  เครื่องดนตรีประจำชาติของประเทศสมาชิกอาเซียน โดย อ. เพียงพิมพ์   วงศ์ชัย

สวัสดีค่ะสมาชิกที่สนใจเรื่องเกี่ยวกับอาเซียน วันนี้เรามารู้จักเครื่องดนตรีประจำชาติของประเทศในกลุ่มอาเซียน กันนะคะ

1. Brunei

Tawak Tawak

Tawak Tawak เป็นเครื่องดนตรีผลิตจากทองเหลือง

Gambus

Gambus เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกีตาร์ มีสายทั้งหมด 12 เส้น ดีดด้วยปิ๊ก

Gandang

Gandang เป็นคำทั่วไปที่ใช้แสดงความหมายถึงกลองทุกชนิด ตัวกลองมีขนาดยาว ผิวหน้าของกลองมีสองด้าน ซึ่งมีขนาดต่างกัน ทำมาจากหนังแกะหรือหนังวัว หนังกลองแนบชิดไปกับตัวกลองด้วยเส้นหวาย

2. Cambodia

 

Sampho

มีสองหัวและเล่นโดยการใช้ทั้งสองมือผู้เล่นเป็นผู้นำกลุ่มเครื่องเป่า

Tro

ตัวซอทำมาจากกะลามะพร้าวชนิดพิเศษ ปลายข้างหนึ่งจะถูกปิดด้วยหนังสัตว์
3. Indonesia

Gamelan

เป็นกลุ่มเครื่องดนตรีหลากหลายชนิดรวมกัน

Angklung

ทำมาจากท่อไม้ไผ่ 2 ชิ้นแนบกับโครงไม้ไผ่ท่อมีลักษณะเป็นวงโค้งเวลาเขย่าจึงจะเกิดเสียงกังวาน

 

Gambang

คล้ายระนาด

4. Laos

Khene

เป็นเครื่องเป่ามีลิ้นโลหะเสียงเกิดจากลมผ่านลิ้นโลหะไปตามลำไม้ที่เป็นลูกแคน
5. Malaysia

Serunai

เป็นเครื่องเป่าดั้งเดิมของชาวมาเลย์

Rebab

เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของชาวมาเลย์

Sape

มีลักษณะคล้ายกีตาร์

Kulintangan

ใช้เล่นในงานเทศกาลเช่นงานแต่งงานและพิธีกรรมทางศาสนา

6. Myanmar

Saung

มีจุดเด่นตรงเป็นพิณโบราณ

Myanma saing waing

นิยมเล่นในอาคาร

7. Philippines

Debakan

ประเภทกลอง

Kulintang

เป็นเครื่องส่งสัญญาณในอดีตของชนพื้นเมือง

Chimes

มีเสียงก้องเมื่อเคาะ

Gandingan

มีหน้าที่เป็นเครื่องดนตรีชิ้นที่ 2 เล่นหลังจากเครื่องดนตรีทำนองหลักเมื่อเล่นเดี่ยวจะเป็นสัญญาณสื่อสารโดยส่งข้อความหรือคำเตือนในระยะไกล

Kudyapi

เป็นพิณรูปคล้ายเรือ

Gangsa

เป็นเครื่องดนตรีประกอบการเต้นแบบพื้นเมืองและใช้ในการขอพรจากพระเจ้าเพื่อให้โชคดี

8. Singapore

Dizi

เป็นขลุ่ยจีนดั้งเดิมมีปุ่ม 3 ปุ่ม

Erhu

เป็นซอ 2 สายที่เล่นบนตัก

Gaohu

เป็นเครื่องดนตรีหลักของเพลงกวางตุ้งและเพลงอุปรากรจีน

Veena

เป็นเครื่องดีดขนาดใหญ่

Guzheng

มีจำนวนสายน้อยสุดตั้งแต่ 6 เส้นและมากสุดคือ 23 เส้น

Yangqin

คล้ายขิมของไทย

Konghou

คล้ายพิณ

9.Thailand

ซอสามสาย

เป็นเครื่องดนตรีที่มีความสง่างามผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของวง

ฆ้องวง

ทำจากโลหะ

ขิม

เข้ามาเมืองไทยสมัยรัชกาลที่ 4 บรรเลงร่วมในวงเครื่องสายผสม

ระนาดเอก

มีวิวัฒนาการมาจากกรับ

ระนาดทุ้ม

กำเนิดในสมัยรัชกาลที่ 3 บรรเลงหยอกล้อไปกับระนาดเอก

กลองยาว

ทำด้วยหนังหน้าเดียว ใช้สะพายเวลาตี

 

10. Vietnam

Dan nguyet

ใช้ทั้งในดนตรีพื้นเมืองและดนตรีคลาสสิค

 

Dan Trung

ใช้เล่นเดี่ยว เล่นคู่หรือบรรเลงเป็นวงได้

Dan Bau

ผู้เล่นจะใช้หลังมือดีดที่สายตามความความยาวของสายและอีกข้างหนึ่งก็จะดึงสายโดยใช้แท่งไม้ในเวลาเดียวกัน

ที่มา   บันทึกการเดินทางอาเซียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ

ลีลาดนตรีไทย

ลีลาดนตรีไทย

ลีลาเครื่องดนตรีไทย หมายถึงท่วงท่าหรือท่วงทำนองที่เครื่องดนตรีต่างๆได้บรรเลงออกมา สำหรับลีลาของเครื่องดนตรีไทยแต่ละเครื่องที่เล่นเป็นเพลงออกมา บ่งบอกถึงคุณลักษณะและพื้นฐานอารมณ์ที่จากตัวผู้เล่น เนื่องมาจากลีลาหนทางของดนตรีไทยนั้นไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์ไว้ตายตัวเหมือนกับดนตรีตะวันตก หากแต่มาจากลีลาซึ่งผู้บรรเลงคิดแต่งออกมาในขณะเล่น เพราะฉะนั้นในการบรรเลงแต่ละครั้งจึงอาจมีทำนองไม่ซ้ำกัน แต่ยังมี ความไพเราะและความสอดคล้องกับเครื่องดนตรีอื่นๆอยู่

ลักษณะเช่นนี้ได้อิทธิพลมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มี”กฎเกณฑ์” อยู่ที่การวาง “กลอน” ลงไปใน “ทำนองหลัก” ในที่นี้ หมายถึงในเพลงไทยเดิมนั้นเริ่มต้นด้วย “เนื้อเพลงแท้ๆ” อันหมายถึง “เสียงลูกตก” ก่อนที่จะปรับปรุงขึ้นเป็น “ทำนองหลัก” หรือที่เรียกว่า “เนื้อฆ้อง” อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งในชั้นเนื้อฆ้องนี้ส่วนใหญ่จะยังคงเป็นทำนองห่างๆ ยังไม่มีความซับซ้อนมาก แต่ยังกำหนดลักษณะในการเล่นไว้ให้ผู้บรรเลงแต่ละคนได้บรรเลงด้วยลีลาเฉพาะ ของตนในกรอบนั้นๆ โดยลีลาที่กล่าวมาก็หมายถึง “กลอน” หรือ “หนทาง” ต่างๆที่บรรเลงไปนั่นเอง

ลักษณะดนตรีไทย

ลักษณะ

ลักษณะการประสานเสียงของดนตรีไทยตามแบบโบราณนั้น ใช้หลัก อาศัยสีเสียง (Tone color) ของเครื่องดนตรีเป็นเครื่องแยกแต่ละแนวทำนอง คือให้เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นประสานเสียงกันแบบแนวนอน คือให้เสียงลูกตกตรงกัน มากกว่าประสานแบบแนวตั้งที่อาศัยคอร์ด (chord) เป็นพื้นฐานหลักตามแบบสากล

ดนตรีไทย

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่น วรรณคดีไตรภูมิพระร่วง” กล่าวถึงเครื่องดนตรี ได้แก่ ฆ้อง กลอง ฉิ่ง แฉ่ง (ฉาบ) บัณเฑาะว์ พิณ ซอ ปี่ไฉน ระฆัง กรับ และกังสดาล

สมัยกรุงศรีอยุธยา มีวงปี่พาทย์ที่ยังคงรูปแบบปี่พาทย์เครื่องห้าเหมือนเช่นสมัยกรุงสุโขทัย แต่เพิ่มระนาดเอกเข้าไป นับแต่นั้นวงปี่พาทย์จึงประกอบด้วย ระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด ตะโพน ฉิ่ง ส่วนวงมโหรีพัฒนาจากวงมโหรีเครื่องสี่ เป็นมโหรีเครื่องหก เพิ่มขลุ่ย และรำมะนา รวมเป็นมี ซอสามสาย กระจับปี่ ทับ (โทน) รำมะนา ขลุ่ย และกรับพวง

ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มจากรัชกาลที่ ๑ เพิ่มกลองทัดเข้าวงปี่พาทย์อีก ๑ ลูก รวมเป็น ๒ ลูก ตัวผู้เสียงสูง ตัวเมียเสียงต่ำ รัชกาลที่๒ ทรงพระปรีชาสามารถการดนตรี ทรงซอสามสาย คู่พระหัตถ์คือซอสายฟ้าฟาด และทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทย บุหลันลอยเลื่อน รัชสมัยนี้เกิดกลองสองหน้าพัฒนามาจากเปิงมางของมอญ พอในรัชกาลที่๓ พัฒนาเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก และฆ้องวงเล็กให้คู่กับฆ้องวงใหญ่

รัชกาลที่๔ เกิดวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่พร้อมการประดิษฐ์ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก รัชกาลที่ ๕ สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงคิดค้นวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ในรัชกาลที่ ๖ นำวงดนตรีของมอญเข้าผสมเรียกวงปี่พาทย์มอญโดยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มีการนำอังกะลุงเข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรก และนำเครื่องดนตรีต่างชาติ เช่น ขิม ออร์แกนของฝรั่งมาผสมเป็นวงเครื่องสายผสม แล้วจึงเป็นดนตรีไทยที่เราได้เห็นจนถึงปัจจุบันนี้ ทั้งความแตกต่างระหว่างวงต่างๆ ผู้ประพันธ์ท่านต่างๆ